Translate

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมประจำหน่วยที่ 2 เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

:1.กำหนดปัญหา/ความต้องการ
 2.รวบรวมการแก้ปัญหา
 3.สนองความต้องการ
 4.ปฏิบัติ
 5.ทดสอบ
 6.ปรับปรุง
 7.ประเมิน

2.จงให้คำนิยามของสิ่งต่อไปนี้ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง

: 1)ข้อมูล

   2)สารสนเทศ

   3)ความรู้
3.1)ข้อมูล คือ สิ่งที่ได้มา เช่นการสัมภาษณ์ เป็นต้น
3.2)สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการต่างๆมาเเล้ว สามารถนำมาให้ได้ 
3.3)ความรู้ คือความรู้ที่มีอยู่

3.จงยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของนักเรียนเองว่า ความรู้ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างไร
:จากการซื้อข้าวกับขนม เราต้องคิดว่าอะรไมีประโยชน์เเละคุณค่ามากกว่ากัน เเละส่ิงไหนจะทำให้อิ่ม

4.การเก็บรักษาข้อมูลและสารสนเทศมีวิธีอย่างไร และเก็บไว้เพื่อประโยชน์อะไร
: 1.เก็บไว้เป็นหลักแหล่ง 2.สามารถค้นหาได้ง่าย 3.ง่ายต่อการจัดเจ็บ
การเก็บรักษาข้อมูลไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อๆไปในการหาข้อมูล

5.การเผยแพร่สารสนเทศมีวัตถุประสงค์อย่างไร และต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
: 1.คนที่เผยเเพร่ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาดู
  2.ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ให้แหล่งที่มา

6.จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อนักเรียนพบปัญหา ตามปกตินักเรียนจะหาคำตอบให้แก่ปัญหานั้นด้วยวิธีใดบ้าง จงบอกมา 3 วิธี พร้อมทั้งบอกว่าแต่ละวิธีมีข้อดุข้อเสียอย่างไร
: 1.เผชิญหน้ากับปัญหา - อาจทำให้เกิดการเสียหน้าขึ้น
  2.เตรียมรับมือ - อาจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
  3.ปล่อยวาง - การปล่อยวางมากเกินอาจทำให้ไม่สำเร็จ

7.ปัญหาง่ายๆในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบหรือไม่ เพราะเหตุใด
:ไม่จำเป็น เพราะทุกๆวันต้องมีอุปสรรค

8.การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร จงอธิบาย และมีประโยน์อย่างไร
: 1.วางแผน 2.ดำเนินเรื่อง 3.แก้ไขปัญหา
 การที่เราวางแผนการทำงานก่อน อาจทำให้เราทำงานได้อย่างรสบรื่น

9.จงยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการแก้ปัญหาที่นักเรียนได้พบเห็นมาโดยเล่าเรื่องราวพอสังเขปและวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
:งานในที่ฮาร์ดดิสก์หายสามารถกู้คืนได้ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือชั้นม.2

                               
                             กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในช่วงเวลา 3 วัน 2 คืน
ทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้อะไรหลายๆอย่าง ทั้งในเรื่องการอยู่ร่วมกัน ความสามัคคีในการทำงานต่างๆ
เเละความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน การเข้าค่ายในครั้งนี้ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก และได้รู้จักการใช้ชีวิตโดยที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่ด้วย และรู้จักการช่วยเหลือตนเอง
                             ภายในกิจกรรมลูกเสือนั้นดิฉันรู้สึกประทับใจกับฐานทุกฐานไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรอบกองไฟ  และฐานต่างๆ ทำให้รู้ถึงคำว่า "มิตรภาพ น้ำใจ และความสามัคคี"

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ชินจัง !


  • โนะฮาร่า ชินโนซึเกะ (อายุ 5 ปี) ตัวละครเอกของเรื่อง มีนิสัยเจ้าชู้ แก่แดด กะล่อน ชื่นชอบสาวสวยหุ่นดีคล้ายฮิโรชิ หาเรื่องป่วนได้ทุกเวลา มีปัญหาเรื่องออกเสียงและการใช้ภาษาอย่างผิดหลักไวยากรณ์ กระนั้นก็ยังพูดจาฉะฉาน ใช้คำพูดเกินเด็ก แทงใจดำคน อ่านใจคนเก่งมาก (ดังพบเห็นได้จากการไปห้างสรรพสินค้า ที่มักจะรู้เล่ห์กลของพนักงานขาย) แต่แท้จริงแล้วเป็นคนที่รักครอบครัวและคนรอบข้างอยู่ ที่สำคัญกว่านั้นสิ่งที่ไม่มีใครพูดถึง คือ ความมีน้ำใจของชินจัง มีความเฉลียวฉลาด กล้าหาญ คิดดีทำดี และสุดท้ายเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแถมยังชอบช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย (ความสามารถพิเศษของชินจังคือ มีปฏิกิริยาตอบโต้กับสาวสวยรวดเร็ว ลอกเลียนแบบเก่ง ทำเครื่องแต่งกายเก่ง และเต้นเก่ง)

  • โนะฮาร่า ฮิมาวาริ (วัยคลาน) น้องสาวของชินโนซึเกะ มีนิสัยคล้ายมิซาเอะ ชื่นชอบเครื่องประดับและดาราหนุ่มหล่อ ชื่อของฮิมาวาริมาจากการเลือกชื่อโดยการใช้เครื่องบินกระดาษ โดยคำว่า ฮิมาวาริ มาจากชื่อห้องเรียนที่ชินโนซึเกะเรียนอยู่ (ฮิมาวาริ แปลว่า ดอกทานตะวัน)

  • โนะฮาร่า มิซาเอะ (อายุ 29 ปี) แม่ของชินโนซึเกะ ชอบใส่กางเกงในสีใส ขนหน้าแข้งดก ท้องลาย ทำให้ถูกชินโนะซึเกะนำไปล้อเสมอ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอับอายขายหน้าเพื่อนบ้านจากการเล่นกับชินจังอยู่บ่อยๆ

  • โนะฮาร่า ฮิโรชิ (อายุ 35 ปี) พ่อของชินโนซึเกะ มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แอบเจ้าชู้และชอบกินเบียร์ เลี้ยงดูชินโนซึเกะแบบเพื่อน

  • เจ้าขาว(ชีโร่) สุนัขที่ถูกทิ้ง ซึ่งชินจังนำมาเลี้ยง แต่มักจะไม่ได้รับการเอาใจใส่จากชินจังเท่าที่ควร

  • ซากุราดะ เนเน่ มีชื่อเล่นว่า เนเน่จัง เป็นเด็กสาวในกลุ่มของชินโนซึเกะ มีนิสัยขี้โมโห แต่ซ่อนไว้โดยการทำนิสัยน่ารัก ชอบเล่นพ่อแม่ลูกเป็นชีวิตจิตใจ เนเน่จังจะต่อยตุ๊กตากระต่ายตัวเล็กเป็นการระบายอารมณ์ ซึ่งเลียนแบบมาจากคุณแม่ของเนเน่จังนั่นเอง

  • โทโอรุ คาซาม่า มีชื่อเล่นว่า คาซาม่าคุง เป็นเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ยุ่งอยู่กับธุรกิจ จึงทำให้คาซาม่าคุง มีนิสัยขี้โอ่ ชอบอวดร่ำอวดรวยในบางครั้ง และยังติดแม่มาก แต่เป็นเด็กเรียนดีของห้อง มักถูกชินโนซึเกะแซวเล่นและคอยปั่นป่วนตลอดเวลา เลยทำให้ไม่กล้าเปิดเผยความชอบส่วนตัวสักเท่าไหร่ เกรงจะถูกชินโนซึเกะเอาไปล้อ จริง ๆ แล้วเป็นเพื่อนที่สนิทกับชินจังมาก

  • ซาโต้ มาซาโอะ มีชื่อเล่นว่า มาซาโอะคุง เป็นเด็กผมโล้น มีนิสัยขี้ระแวง ขี้แย อ่อนแอ ถูกหลอกง่ายจึงมักถูกเพื่อนๆลากไปสร้างวีรกรรมเสมอๆ มักถูกเด็กประถมรังแกบ่อยครั้ง มีฉายาว่า หัวข้าวปั้น หลงรักไอย์จังอย่างโงหัวไม่ขึ้น

  • โบจัง เป็นเด็กที่พูดน้อยและตัวสูงที่สุดในกลุ่ม ลักษณะเด่นคือ มีน้ำมูกไหลย้อยตลอดเวลาและพูดแค่คำว่า "โบ" มีความลับอยู่ในเรื่องครอบครัว เพราะไม่ปรากฏพ่อแม่โบจังเลย (มีตอนที่กลุ่มชินจังพยายามตามสืบหาพ่อแม่ของโบจัง แต่ไม่สำเร็จ) มีความเก่งด้านศิลปะเชิงนามธรรม ได่รับรางวัลประกวดวาดภาพหลายครั้ง เช่น หัวใจของอีกา

  • ซึโอโตเมะ ไอย์ มีชื่อเล่นว่า ไอย์จัง เป็นคุณหนูลูกเศรษฐี เป็นทั้งเพื่อนและคู่กัดของเนเน่จัง ปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนเล่มที่ 16 มักจะชอบพูดจาเกี่ยวกับเรื่องฐานะ ซึ่งทำให้มีปัญหากับเนเน่จังอยู่บ่อยครั้ง หลงรักชินโนะซึเกะมาก มีความสามารถพิเศษในการจัดงานต่างๆ(โดยใช้บอดี้การ์ด) และทำให้เด็กผู้ชายคนอื่นๆตกหลุมรักได้ (ยกเว้นชินจัง)

ตัวละครรอง

  • โอฮาร่า นานาโกะ ชินโนซึเกะมักเรียกเธอว่า พี่นานาโกะ เป็นเพื่อนบ้านของชินโนะซึเกะ มีคุณพ่อเป็นนักเขียนนิยายชื่อดัง ซึ่งหวงลูกสาวมาก นานาโกะเป็นคนที่น่ารัก และเป็นคนที่ชินโนะซึเกะแอบชอบด้วย

  • ครูโยชินาง่า มิโดริ (อิชิซากะ มิโดริ) ครูประจำชั้นห้องฮิมาวาริ มักเหนื่อยหน่ายใจกับพฤติกรรมของชินโนซึเกะ แต่ภูมิใจที่ได้สอนเด็กๆจอมซนพวกนี้ ภายหลังได้แต่งงานกับ อิชิซากะ จุนอิจิ โดยมีพ่อสื่อแม่สื่อคือกลุ่มของชินโนซึเกะ แต่งงานที่โรงเรียนอนุบาล ท่ามกลางสายฝน ปัจจุบันมีลูกสาว ชื่อ โมโมะ

  • ครูมัตสึซากะ อุเมะ ครูประจำชั้นห้องกุหลาบ มีลักษณะคล้ายสาวสวยไฮโซ ชอบต่อล้อต่อเถียงกับโยชินนาง่า บ่อยครั้ง มีจุดอ่อนเรื่องหาคนรักไม่ได้(แม้ว่าจะมีคนรักอยู่แล้วก็ตาม)และเรื่องการเป็นสาวโสด กำลังคอยหาดูใจกับหมอเกียวดะ โทคุโร่ ซึ่งตอนนี้ไปทำวิจัยขุดซากฟอสซิลไดโนเสาร์อยู่ต่างประเทศ

  • ครูอาเงโอะ มาซึมิ ครูผู้มี2บุคลิก โดยเมื่อใส่แว่นจะมีท่าทางสงบเสงี่ยม เรียบร้อยและไม่กล้าแสดงออก แต่เมื่อถอดแว่นออกจะเปลี่ยนเป็นคนละคน เก่งทางด้านคอมพิวเตอร์ แอบทำเว็บไดอารี่เป็นของตนเองแต่กลุ้มใจที่ไม่มีใครเข้ามาดูเลยสักคนเนื่องจากไม่กล้าบอกว่าตนเองมีเว็บไซด์

  • ครูใหญ่ ทาคาคูระ บุนตะ ครูใหญ่แห่งโรงเรียนอนุบาลฟุตาบะ มีหน้าตาคล้ายนักเลงยากูซ่าระดับหัวหน้าแก๊งค์แต่จริงๆแล้วเป็นคนใจดี

  • คุณนาย ทาคาคูระ ภรรยาของคุณครูใหญ่

  • เคย์โกะ เป็นเพื่อนสนิทของมิซาเอะ มีสามีอายุน้อยกว่า ซึ่งชินจังมักจะนำเรื่องนี้ไปเล่าเพื่อนบ้านของน้าเคย์โกะ ให้อับอายเป็นประจำ มีลูกชาย 1 คน

 แหล่งที่มาข้อมูล :http://pirun.ku.ac.th/~b5104388/p3.html

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

โรงเรียนของเรา>>ตากพิทยาคม



ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนตากพิทยาคม   
           ประวัติโดยย่อของโรงเรียนตากพิทยาคม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งแรกของจังหวัดตาก ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนวัดสีตลาราม" บริเวณที่ก่อตั้งครั้งแรกอยู่ภายในบริเวณวัดสีตลาราม (วันน้ำหัก) ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เปิดทำการสอนแบบสหศึกษา เมื่อวันที่ 1 พฤศิจกายน 2443 จำนวน 6 ห้องเรียน ซึ่งได้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนตากพิทยาคมปัจจุบัน
         1. ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนตากพิทยาคม  สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต38 
              ตั้งอยู่เลขที่  12 ถนนพหลโยธิน  ตำบลระแหง  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก  63000
              โทรศัพท์  055 – 511143
              โทรสาร    055 – 540248
              E – mail    mytakpit@hotmail.com
              Website     www.tps.ac.th
        2.  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธนมศึกษาปีที่ 6
        3.  มีเขตพื้นที่บริการ 6 ตำบล ได้แก่  ตำบลระแหง  ตำบลน้ำรึม  ตำนลแม่ท้อ  ตำบลไม้งาม  ตำบลหนองหลวง  ตำบลหนองบัวใต้

อาณาเขตติดต่อ
  ทิศเหนือ          ติดกับ  ถนนท่าเรือ
  ทิศใต้               ติดกับ  ถนนเทศบาล 6
  ทิศตะวันออก    ติดกับ  ถนนเทศบาล 7
  ทิศตะวันตก      ติดกับ  วัดเวฬุวัน (ไผ่ล้อม)
 พื้นที่ 
โรงเรียนตากพิทยาคม มีพื้นที่ทั้งสิ้น 78 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา แบ่งออกเป็น 2 บริเวณ ได้แก่
1. บริเวณที่ตั้งโรงเรียนตากพิทยาคม 64 ไร่ 2 งาน
2. บริเวณที่ตั้งบ้านพักข้าราชการครู (นิคมครู) พื้นที่ 14  ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา
แหล่งที่มาข้อมูล : http://www.tps.ac.th

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก


ที่มาและความสำคัญ
            เมี่ยงคำเมืองตาก หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าเมี่ยงจอมพล เป็นเมี่ยงที่มีลักษณะเด่นและมีส่วนประกอบของเมี่ยง เช่น มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด ถั่วลิสงคั่ว ข้าวเกรียบชุบน้ำให้อ่อนตัว ฯลฯ ซึ่งนิยมรับประทานเป็นของว่าง และยังเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดตากที่มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันพบว่า เมี่ยงคำเมืองตาก หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าเมี่ยงจอมพลนั้น หาทานได้ยาก เพราะเนื่องจากประชาชนทั่วไปนิยมหันมารับประทานอาหารอื่นแทน
                คณะผู้จัดทำจึงทำการศึกษาอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ตลอดจนการทำเมี่ยงคำเมืองตาก และนำเสนอ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเมี่ยงคำเมืองตาก
                การนำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับเมี่ยงคำเมืองตากนั้น คณะผู้จัดทำได้เผยแพร่ลงในสื่อออนไลน์ เช่น facebook เว็บไซต์ และบล็อกเกอร์ เพื่อเป็นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์อาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดตากใหเอยู่คู่กับชาวจังหวัดตาก ตลอดไป

วัตถุประสงค์
           1. เพื่อศึกษาวิธีการทำเมี่ยงคำ
           2. เพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอข้อมูล เรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก
           3. เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดตาก และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น
ของจังหวัดตาก  ให้มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
              1.ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำเมี่ยงคำซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดตาก
              2 . ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอข้อมูลเรื่องเมี่ยงคำเมืองตาก
              3.  ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดตาก และได้เผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดตาก  และได้เผยแพร่วัฒนธรรมของจังหวัดตากให้มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น


วิธีดำเนินงาน
1.กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา 

2.วางแผนการดำเนินงาน

3.หาข้อมูล และรวบรวมข้อมูล

4.ปฏิบัติงาน (ศึกษาการทำเมี่ยงคำเมืองตาก)

5.ตรวจสอบ

6.นำเสนอข้อมูล 


ผลการศึกษา

               ก่อนโพสต์ มียอดผู้เข้าชม จำนวน 2447 คน หลังการโพสต์ มีผู้เข้าชม 2534 คน ซึ่งเดิมขึ้นจากเดิม 107 คน และมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 1 คน 

สรุปผลการศึกษา
ในการจัดทำโครงงานเรื่องเมี่ยงคำเมืองตากเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และทำให้คณะผู้จัดทำได้ทราบเกี่ยวกับวิธีการทำเมี่ยงคำซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดตาก ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูล และเป็นการอนุรักษ์ เผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวจังหวัดตากให้มีชื่อเสียงมากขึ้น 

ข้อเสนอแนะ
                การทำโครงงานเรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก มีข้อเสนอแนะดังนี้
1.             ควรเพิ่มเวลาการทำโครงงาน

แหล่งที่มารูปภาพ http://www.kruaklaibaan.com

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology)


โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN 
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
1)  โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)

เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
2)  โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก 
3)  โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน  ข้อมูลจะถูกส่ง ต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย      ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
อ่านต่อคลิกเลยจ้าาา >>>
แหล่งที่มาข้อมูล :http://media.rajsima.ac.th/sujittra/unit1_p3.html

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันคริสต์มาส


ประวัติวันคริสต์มาส


Christmas or Christmas Day is an annual holiday celebrated on December 25 that
commemorates the birth of Jesus of Nazareth. The date of commemoration is not known to be
Jesus' actual birthday, and may have initially been chosen to correspond with either a historical Roman
festival or the winter solstice. Christmas is central to the Christmas and holiday season, and in Christianity marks the beginning of the larger season of Christmastide, which lasts twelve days.

วันคริสต์มาสเป็นวันหยุดประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม โดยวันดังกล่าวอาจจะไม่ตรงกับวันเกิดจริงๆของพระเยซู แต่อาจจะเป็นวันที่ถูกเลือกเอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลโรมัน หรือสอดคล้องกับวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)คริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญ และมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในย่านของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการจัดเทศกาลนี้ยาวนานถึง 12 วัน

Although traditionally a Christian holiday, Christmas is widely celebrated by many non-Christians, andsome of its popular celebratory customs have pre-Christian or secular themes and origins. Popular modern customsof the holiday include gift-giving, Christmas carols, an exchange of greeting cards, church celebrations, a special meal,and the display of various decorations; including Christmas trees, lights, and garlands, mistletoe, nativity scenes, and holly. In addition, Father Christmas (known as Santa Claus in North America and Ireland) is a popular mythological figure in many countries, associated with the bringing of gifts for children.

แม้ว่าวันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลของชาวคริสต์ แต่ในหมู่คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็มีการเฉลิมฉลอง
กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งการเฉลิมฉลองนั้นมีทั้งแบบสมัยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยกับอีก
แบบหนึ่งคือแบบดั้งเดิม โดยประเพณีที่เป็นนิยมในสมัยใหม่นั้น ได้แก่ การมอบของขวัญ การแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพร
การจัดงานเลี้ยงฉลองในโบสถ์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการโชว์งานตกแต่งประดับประดาตามสถานที่ต่าง ๆด้วย ต้นคริสต์มาส ดวงไฟประดับ พวงดอกไม้ ต้นมิสเซิลโท การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู และต้นฮอลลี่
นอกจากนี้บิดาแห่งคริสต์มาส (หรือที่ชาวอเมริกาเหนือและไอร์แลนด์เรียกว่า ซานตาคลอส) ยังเป็นหนึ่งตำนานที่เป็น
ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้นำของขวัญมามอบให้กับเด็ก ๆ

Because gift-giving and many other aspects of the Christmas festival involve heightened economic
activity among both Christians and non-Christians, the holiday has become a significant event and a key
sales period for retailers and businesses. The economic impact of Christmas is a factor that has grown
steadily over the past few centuries in many regions of the world.

 เนื่องจากการมอบของขวัญและการฉลองทั้งหลายนี้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งในเมืองของชาวคริสเตียน 
และที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนเทศกาลคริสต์มาสจึงกลายเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการขายของสำหรับเหล่าพ่อค้าและนักธุรกิจการที่ระบบเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้นจากเทศกาลนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกพื้นที่ในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมานี้

แหล่งที่มา : http://www.educatepark.com/english/christmas-story.php